การพัฒนาด้านความยั่งยืน

การพัฒนางานด้านความยั่งยืนของเราดำเนินการภายใต้กรอบการทำงานของกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประกอบด้วย 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ acting progressively, consuming responsibly และ focusing on people ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ทำให้เกิดการต่อยอดเป็นกิจกรรมที่หลากหลายครอบคลุมเป้าหมายกว่า 13 ประการ โดยคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสามารถสะท้อนออกมาเป็นประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสมภายใต้สถานการ์ณและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

สิ่งแวดล้อม

เราให้ความสำคัญกับการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (Consuming Responsibly) เพราะเราต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในการบริโภคและการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัสดุ การจัดการและการใช้ในตลอดสายห่วงโซ่อุปทาน พร้อมด้วยการพัฒนาการออกแบบเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจ การจัดการด้านพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิการใช้และใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการของเสีย โดยการป้องกันการเกิด ลดปริมาณ และการนำกลับมาใช้ และภายใต้การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

ด้านสังคม

เรามุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคน (Focusing on People) การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพต้องเชื่อมโยงกับชุมชน ค่านิยมทางสังคม และคนรอบข้าง การดูแลพนักงาน ลูกค้า และชุมชน ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างสมดุล มีอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้นำ สร้างวัฒนธรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อประสิทธิผลด้านความคิดสร้างสรรค์ ทางนวัตกรรม ก่อเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้คนซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของทุกคนภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน

ด้านบรรษัทภิบาล

เรามุ่งมั่นดำเนินการอย่างก้าวหน้า (Acting Progressively) ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยการปรับปรุงกระบวนการที่เกี่ยวข้องควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรม เพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์บริการของเราด้วยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในสายห่วงโซ่อุปทาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักธรรมาภิบาล คุณธรรมและจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อสามารถปรับตัวได้สอดคล้องตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

Highlight Projects

โครงการพลังงานทดแทน
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ได้มีการลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 40 กิโลวัตต์ ที่อาคารสามย่าน มิตรทาวน์ โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มเปิดใช้งานในปี 2566 แผงโซลาร์ดังกล่าวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 54,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ช่วยให้บริษัทฯ ประหยัดค่าไฟฟ้าไปได้ทั้งสิ้น 270,000 บาท เทียบเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ 27,000 kgCO2e นอกจากนี้ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ยังได้ทำการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาของอาคารคลังสินค้าต่าง ๆ จำนวนทั้งหมด 8 แห่ง กำลังการผลิตรวม 2.9 เมกะวัตต์ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยมากกว่า 3,900,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือเทียบเท่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ 1,950,000 kgCO2e ในปี 2566
โครงการพลังงานทดแทน
การพัฒนาอาคารเขียว
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ตอกย้ำความเป็นเบอร์ 1 ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมที่มีพื้นที่อาคารเขียวมากที่สุด โดยไม่เพียงพัฒนาอาคารใหม่ตามแนวทางความยั่งยืน แต่ยังเป็นรายแรกของไทยที่ริเริ่มการยกระดับปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงงานที่อยู่ระหว่างการใช้งานเข้ารับการประเมินและผ่านการรับรองจาก EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies)
สำหรับอาคารแห่งแรกของประเทศไทยที่ผ่านการรับรอง EDGE Certified ในครั้งนี้ คือโรงงานแบบพร้อมใช้ (Ready-Built) ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 2,275 ตร.ม.ของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งผ่านการปรับปรุงอาคารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมาตรฐาน EDGE มุ่งผลักดันให้อาคารสามารถลดการใช้พลังงาน (Energy Savings) ลดการใช้น้ำ (Water Savings) และเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย (Less Embodied Energy in Materials)
การพัฒนาอาคารเขียว
FPT BUILD TO ZERO TOGETHER อัตราการรีไซเคิลขยะของชาว FPT
ที่สำนักงานใหญ่
FPT Build to Zero Together 1
FPT Build to Zero Together 2
FPT Build to Zero Together 3
การปรับปรุงแคมป์ที่พักคนงานก่อสร้างของโครงการที่อยู่อาศัย และโครงการคัดแยกขยะในหมู่บ้าน
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) ทำงานร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนให้แรงงานที่อาศัยรวมอยู่กับครอบครัวในแคมป์คนงานก่อสร้าง มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็กได้พัฒนาเครื่องมือที่ชื่อว่า Self Assessment Tool (SAT) โดย Building Social Impact Initiative โครงการสร้างเสริมผลลัพธ์ที่ดีทางสังคม สำหรับพัฒนาแคมป์ที่พักของคนงานก่อสร้าง ร่วมกับบริษัทที่เห็นปัญหาและมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้บริษัทยังได้ริเริ่มโครงการคัดแยกขยะภายในหมู่บ้านขึ้น โดยร่วมมือกับบริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด ส่งขยะรีไซเคิลสู่ปลายทางที่เหมาะสมเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสู่ชั้นบรรยากาศโลก และบรรเทาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
FPT Build to Zero Together 3
FPT Build to Zero Together 3

Sustainability Goals

กรอบการพัฒนาด้านความยั่งยืน

สร้างโอกาสอย่างต่อเนื่อง
ใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ
การเข้าถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นวัตกรรม
ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่าและสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางธุรกิจ
ทรัพยากรและห่วงโซ่อุปทาน
บรรลุการบริหารจัดการที่ยั่งยืนและการเลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ชุมชนสัมพันธ์
ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางสังคมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน
นวัตกรรม
บริษัทฯ มองเห็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีของโลกที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จึงปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการปฏิวัติดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และส่งมอบประสบการณ์ที่สร้างคุณค่าแก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ บริษัทฯ เน้นให้พนักงานทุกคนประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ภายในแผนกหรือฝ่ายงานของตนเอง เพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน ให้สามารถตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างรวดเร็ว
94
หลักสูตรส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการของพนักงานในปี 2566
1,564
ชั่วโมงการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมในปี 2566
ทรัพยากรและห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการคู่ค้าทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยง คงความต่อเนื่องและสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้คู่ค้าเติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯ ได้อย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเน้นการจัดซื้อจัดหาสินค้าและบริการกับคู่ค้าภายในประเทศและคู่ค้าที่อยู่ในพื้นที่ของโครงการก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อส่งเสริมการสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม บริษัทฯ จัดทำจรรณยาบรรณธุรกิจ สำหรับคู่ค้า (Business Code of Conduct) ที่ครอบคลุมประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานแก่คู่ค้าทั้งหมด
100%
ของคู่ค้าใหม่ต้องลงนามรับทราบนโยบายฯ และตอบแบบประเมินด้านความยั่งยืนของคู่ค้า (VAS) ภายใน 2573
18.4%
ของคู่ค้าลงนามรับทราบนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างรับผิดชอบ (RSP) ในปี 2566
21.4%
ของคู่ค้ารายสำคัญได้รับการอบรมด้านความยั่งยืนในปี 2566
ชุมชนสัมพันธ์
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากชุมชน บริษัทฯ จึงมุ่งสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถดูแลตนเองและเติบโตได้อย่างมั่นคงควบคู่ไปกับบริษัทฯ ดังนั้น บริษัทฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ที่เน้นการสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน ให้สอดคล้องไปกับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจของพื้นที่โดยรอบที่มีการดำเนินการของบริษัท รวมทั้งการสำรวจความคิดเห็นชุมชนก่อนเริ่มแผนพัฒนาธุรกิจสำหรับโครงการใหม่ เพื่อการอยู่ร่วมกันและการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยไร้ข้อขัดแย้งใด ๆ พร้อมทั้งการติดตามผลหลังดำเนินการเพื่อนำผลมาวิเคราะห์ปรับปรุงในโครงการต่อ ๆ ไป
2.52 ล้านบาท
มูลค่าการลงทุนทางสังคมในปี 2566
85.8%
ความพึงพอใจเฉลี่ยของลูกค้า ในปี 2566
2,905 ชั่วโมง
ที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา
4,460,200 ซีซี
ปริมาณโลหิตสะสมที่ส่งต่อให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาติไทย
ความยืดหยุ่นและการปรับตัวทางธุรกิจ
ส่งเสริมให้สร้างความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวให้ได้กับทุกการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศผ่านการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี มีความสมดุลในการทำงาน และสภาพแวดล้อมที่ดี
ความยืดหยุ่นและการปรับตัวทางธุรกิจ
บริษัทฯ มุ่งดำเนินงานโดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ทั้งเรื่องโอกาส พฤติกรรมของลูกค้า และความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในรูปแบบของความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical risks) และความเสี่ยงเปลี่ยนผ่าน (Transition risks) ตลอดจนภัยคุกคามอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้น บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ และวางแผนงานทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อสร้างความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นทางการกับหน่วยงาน The Science Based Target Initiative (SBTi)
จัดทำแผนงานมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593
บริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสอดคล้องตามกรอบแนวทาง Task Force on Climate-related Disclosures
ความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัทฯ ตระหนักดีว่าการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยเฉพาะการพัฒนาที่ดิน อาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ บริษัทฯ จึงพิจารณาผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศในกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงบวกในพื้นที่ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ตลอดจนสร้างความตระหนักในคุณค่าของการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ร่วมกันกับชุมชนและสังคม
17%
ของพื้นที่โครงการที่อยู่อาศัยสร้างใหม่เป็นพื้นที่สีเขียวในปี 2566
ไม่มี
โครงการสร้างใหม่ของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติ
1,200
ต้นไม้ที่ปลูกจากการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2566
สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน พนักงาน และลูกค้า บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับคนในการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนดูแลเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้นำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ทางนวัตกรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรในด้านการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้คนซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของทุกคนภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน
66%
ระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ในปี 2566
ไม่มี
การเสียชีวิตที่เกิดจากการทำงานของทั้งพนักงาน และผู้รับเหมา ในปี 2566
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงานและผู้รับเหมาเป็น ศูนย์ ในปี 2566
การบริหารจัดการความเสี่ยง
มีการประเมินที่ครอบคลุมกับการบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
พลังงานและคาร์บอน
เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน
ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน
เสริมสร้างศักยภาพแห่งการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่แบ่งแยกอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือ ฐานะทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
การประกอบกิจการในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาและอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของกลยุทธ์ ด้านการเงิน ด้านปฏิบัติการ ด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความเสี่ยงที่อุบัติขึ้นใหม่ ดังนั้น การบริหารจัดการความเสี่ยง โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอก จึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจ ช่วยให้บริษัทฯ สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่เกิดการหยุดชะงัก รวมไปถึงช่วยเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจอีกด้วย
ดำเนินการประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้าน ESG
วิเคราะห์และกำหนดมาตรการควบคุมสำหรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
3,537 ชั่วโมง
การอบรมพนักงานด้านธรรมาภิบาลและจริยธรรมในปี 2566
พลังงานและคาร์บอน
การดำเนินกิจการทุกประเภทก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ดังนั้น บริษัทฯ จึงตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมุ่งความพยายามไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ให้สอดคล้องตามข้อตกลงปารีสตามกรอบอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นว่าหากมีการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารต้นทุนการประกอบกิจการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ หรือ กิจกรรมที่เกิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ ได้
1.5%
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ที่ลดลง เทียบกับปีฐาน 2564
10.5%
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ลดลงเทียบกับปีฐาน 2564
48.4 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
พลังงานทดแทนที่ใช้ในปี 2566
ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน
บริษัทฯ เคารพต่อความเป็นมนุษย์ของพนักงานทุกคน เพราะบริษัทฯ ตระหนักดีว่าทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลผลิต การแข่งขัน ความน่าเชื่อถือและยกย่อง ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นเพศ สัญชาติ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สีผิว ศาสนา ภาษา สถานะทางสังคม กฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ท้องถิ่น หรือประเทศใดที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุนหรือเกี่ยวข้อง
ไม่มี
ข้อร้องเรียนที่มีนัยสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน ในปี 2566
52.6%
สัดส่วนที่สมดุลระหว่างพนักงานหญิงและชาย ในปี 2566
29%
ของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้หญิง
การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
บูรณาการประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล ในการประเมินผล
ของเสีย
ลดการเกิดของเสียอย่างยั่งยืนด้วยการป้องกันการเกิดของเสียและหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduction) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) และ การใช้ซ้ำ (Reuse)
ทักษะและความเป็นผู้นำ
พัฒนาทักษะและโปรแกรมส่งเสริมการเป็นผู้นำ ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์กิจกรรมและนวัตกรรมเพื่อส่งมอบคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าสูง
การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
ด้วยแนวคิดในการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าผู้เช่า และนักลงทุนที่ใส่ใจต่อเรื่อง ESG บริษัทฯ ได้นำหลักการการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-design) ประยุกต์ใช้กับการออกแบบโครงการที่มีอยู่เดิม โครงการที่กำลังดำเนินการพัฒนา และโครงการในอนาคตในแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่เดิมและโครงการใหม่ให้ผ่านมาตรฐานอาคารเขียวที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศหรือระดับสากล ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่บริษัทฯ จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
100%
ของอาคารสร้างใหม่ได้รับการรับรองหรือเข้าร่วมการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว
62%
ของอาคารทั้งหมดภายใต้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ได้รับการรับรองหรือเข้าร่วมการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว
2
โครงการใหม่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวในปี 2566
ของเสีย
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการของเสียในองค์กร เนื่องจากหากองค์กรบริหารจัดการของเสียอย่างไม่มีประสิทธิภาพตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงปลายทาง อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมไปถึงภาพลักษณ์ขององค์กรได้ ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งบริหารจัดการของเสียภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯ ได้นำหลักการ 3Rs มาใช้ในการจัดการของเสียขององค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยการลดปริมาณของเสีย (Reduce) การนำของเสียกลับมาใช้ซ้า (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้แก่พนักงานทุกคนในการลดปริมาณของเสีย และการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของเสียที่จะถูกนำไปฝังกลบ (Landfill) ซึ่งเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานขององค์กรได้อีกด้วย
162.8 ตัน
ปริมาณของเสียที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในปี 2566
คัดแยกขยะภายในอาคารสำนักงานใหญ่
สนับสนุนการคัดแยกขยะครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ
ทักษะและความเป็นผู้นำ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และขีดความสามารถของพนักงาน จึงได้วางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสอันท้าทายให้กับพนักงานทุกคนให้เติบโตในสายงาน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพที่หลากหลาย ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมองค์กรผ่านการค่านิยมองค์กร 4 ประการ คือ เราร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative), เราให้เกียรติกันและกัน(Respectful), เราก้าวไปข้างหน้า (Progressive),และเราจริงใจ (Real) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายการเป็น “ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบ ครบวงจร”
19.23 ล้านบาท
เงินลงทุนทั้งหมดสำหรับการอบรมพนักงาน
58 ชั่วโมง/คน/ปี
ชั่วโมงการอบรมเฉลี่ยของพนักงานในปี 2566
22,136 ชั่วโมง
อบรมด้านความยั่งยืนที่จัดให้แก่พนักงานทั้งหมด ในปี 2566
ทรัพยากรน้ำ
เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรน้ำและการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างปลอดภัย
ทรัพยากรน้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการบริหารทรัพยากรน้ำในกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ เช่น การนำหลักการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญในการเลือกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ การเลือกพืชพรรณที่ต้องการน้ำน้อยหรือทนแล้งมาปลูกในพื้นที่ และการประเมินความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ เฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วม นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมและดูแลคุณภาพน้ำก่อนระบายออกสู่ธรรมชาติ เพื่อดูแลรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ
0.4 ลูกบาศก์เมตรต่อตารางเมตร
ปริมาณการใช้น้ำต่อพื้นที่ในปี 2566
556,910.6 ลูกบาศก์เมตร
ที่นำกลับมาใช้ใหม่ / ใช้ซ้ำในปี 2566

รางวัลด้านความยั่งยืน

Global Real Estate Sustainability Benchmark (GRESB) 2020-2023:
  • Public Disclosure A Level
  • 2 Stars Rating for Standing Investment
Stock Exchange of Thailand ESG Ratings 2023: AA level
Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2020-2023: CGR 5 stars "Excellent"
ดูข้อมูลเพิ่มเติม

กิจกรรมด้านความยั่งยืน

ดูข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อตัวแทนของเรา